สำนักงาน กสทช. ภาค1
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ Office of The National Broadcasting and Telecommunications Commission
หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > กสทช.จัดประกวดผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพ ประจำปี 2566
บันทึกโดย : นายสิทธิเกียรติ ศรีเมือง     หมายเลขโทรศัพท์ : 4198 วันที่บันทึก : 24/10/2566

กสทช.จัดประกวดผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพ ประจำปี 2566

กสทช.จัดประกวดผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพ ประจำปี 2566

24-OCT-23-A.jpg

สำนักงาน กสทช. จัดประกวดผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 การประเมินคุณภาพการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เป็นหนึ่งในกระบวนการกำกับดูแลสื่อเชิงบวก (Positive Regulation) เพื่อให้สื่อด้านวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเป็นการประกอบกิจการสื่อที่ใช้คลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติทำหน้าที่อย่างมีคุณภาพและรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้การกำกับดูแลสื่อไม่ควรใช้การกำกับดูแลด้วยกระบวนการทางกฎหมาย (Statutory (Statutory Regulation) เพียงอย่างเดียว เพราะอาจถูกมองว่าเป็นการใช้มาตรการที่เข้มงวดและร้ายแรง เนื่องจากมีการจำกัดพฤติกรรมของผู้ประกอบกิจการด้วยการบังคับใช้กฎหมาย และระเบียบ รวมถึงมีการลงโทษด้วยกระบวนการยุติธรรม ซึ่งการกำกับดูแลสื่อด้วยมาตรการทางกฎหมายส่วนใหญ่เน้นไปที่เนื้อหาที่ต้องห้ามออกอากาศ หรือเผยแพร่ เพราะเป็นอันตรายต่อสังคมหรือมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ (Public (Public Interest) nterest) เช่น กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเป็นเนื้อหาที่ลามกอนาจาร อีกทั้งที่ผ่านมาแม้จะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายเข้ามากำกับดูแลสื่ออย่างเข้มงวด และมีการกำหนดมาตรฐานของเนื้อหาและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือไม่พึงประสงค์ เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องนำเสนอเนื้อหารายการที่มีคุณภาพแต่ก็ยังพบสื่อที่ไม่มีคุณภาพและไม่เป็นไปตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขาดแรงจูงใจในด้านต่างๆ ที่จะมีส่วนช่วยรักษามาตรฐานคุณภาพของ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง การประเมินคุณภาพการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพ เป็นการให้รางวัลและยกย่องชมเชยผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่มีคุณภาพ ดำเนินกิจการสอดคล้องตามกฎหมาย และสร้างคุณค่าต่อสังคมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณะ จึงควรเข้ามาเป็นเครื่องมือสาคัญในการกำกับดูแลสื่อควบคู่กับการใช้มาตรการทางกฎหมาย โดยจะทำหน้าที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ดำเนินกิจการที่สอดคล้องกับกฎหมายและสร้างคุณค่าต่อสังคมด้วยความสมัครใจ ถือเป็นการยกระดับการกำกับดูแลสื่อ ซึ่งจะทำให้เกิดการยกระดับคุณภาพการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง อันเป็นกลไกสาคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค ประชาชน สิทธิพลเมืองจากสื่อที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเด็กและเยาวชน กิจการกระจายเสียงเป็นสื่อสารมวลชนที่ยังคงมีบทบาทสาคัญต่อสังคม มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคสื่อ โดยใช้คลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ โดยพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2552 และกฎหมายประกอบอื่นๆ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาต และกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์เพื่อให้ผู้ใช้บริการ ผู้บริโภคสื่อได้รับข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงที่มีคุณภาพมีความถูกต้องเหมาะสมต่อสังคมและกลุ่มเป้าหมาย ตลอดไปจนถึงการกำหนดแนวทางที่ดีในการดาเนินงานตามหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และการกำหนดแนวทางกากับดูแลและประเมินผลที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์อันเป็นสาธารณะ และสนับสนุนการดำเนินงานของกิจการกระจายเสียงให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) #NBTC #สมาคมสื่อช่อสะอาด