สำนักงาน กสทช. ภาค1
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ Office of The National Broadcasting and Telecommunications Commission
หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > เข้าร่วมประชุมการจัดงาน "ลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันด้วยแผน ปภ.จังหวัด" จังหวัดนนทบุรี
บันทึกโดย : นายสิทธิเกียรติ ศรีเมือง     หมายเลขโทรศัพท์ : - วันที่บันทึก : 20/02/2566

เข้าร่วมประชุมการจัดงาน "ลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันด้วยแผน ปภ.จังหวัด" จังหวัดนนทบุรี

          วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30น. สำนักงาน กสทช. เขต 11 มอบหมายให้นายณัฐธัญ ปภารัชตกุล หัวหน้างานตรวจสอบและกำกับดูแล เข้าร่วมประชุมการจัดงาน "ลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ สู่สังคมเท่าทันด้วยแผน ปภ.จังหวัด" โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีเป็นประธานเปิดการจัดงาน ณ ห้องประชุมมหาเจษฎาบดินทร์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี มีการบรรยาย โดยผู้อำนวยการส่วนนโยบายภัยจากธรรมชาติ โดยมีสาระการประชุมสรุปได้ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ ของ ปภ. สังคมไทยสามารถลดความเสี่ยงเดิม ป้องกันความเสี่ยงใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงอย่างปลอดภัยและยั่งยืน
2. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 , 2 และ 3 ส่วนที่ 2 การจัดการสาธารณภัยให้มีมาตรฐาน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 และ 5
3. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ลดความเปราะบางและความล่อแหลม พร้อมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการเตรียมพร้อมรับกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นด้วยการลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมและป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่โดยการใช้แนวคิด “การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย” (Disaster Risk Reduction : DRR)
4. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัฒกรรมด้านสาธารณภัย ใช้แนวคิด Administration and Innovation ในการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยแบบอัจฉริยะเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันภัยทุกสังคม พร้อมด้วยการปรับใช้นวัตกรรมในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ในการพัฒนาประเทศ
5. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ใช้แนวคิด Partnership ความเป็นเจ้าของร่วมกันในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยอย่างยั่งยืนระดับชาติและระดับนานาชาติร่วมกัน และพัฒนาจากความร่วมมือสู่ความเป็นหุ้นส่วนในระดับนานาชาติในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
6. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ ใช้แนวคิด Emergency Management ด้วยการยกระดับมาตรฐานการบูรณาการวางแผนเผชิญเหตุจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย และเร่งดูแลประชาชนให้กลับมามีชีวิตตามปกติโดยเร็ว ยกระดับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน จัดทำแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจน นำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
7. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน ใช้แนวคิด Build Back Better ในการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้มีการซ่อมสร้างและพื้นสภาพให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วหรือให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม Next Normal หรือรู้ก่อนรุกก่อนและรู้เท่าทันภัย และยกระดับการฟื้นฟูโดยใช้การประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย (Post Disaster Need Assessment: PDNA)

001.jpeg

002-(1).jpeg

003.jpeg

004.jpeg

005.jpeg